รัชกาลที่2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2352-2367 ครองราชย์ 15 พรรษา
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก่อนขึ้นครองราชย์
ทรงดำรงพระยศเป็น
เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรตำแหน่งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์มีความสามารถทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดีทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดีกับสมเด็จพระราชบิดาไว้หลายเรื่อง
ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง ซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่
1 นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่
ได้แก่ ไกรทอง คาวีไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิไชย ฯลฯ ด้านดนตรีทรงเป็นเอตทัคคะในทางสีซอสามสาย
ด้านศิลปะ โปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฏที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม
เมื่อปฐมวัยได้ ทรงติดตามพระราชบิดาไปในงานสงครามแทบทุกครั้ง
ตั้งแต่พระชมมายุได้ 8
พรรษา ทรงผนวช เมื่อพระชนมายุ 22 พรรษา ทรงจำพรรษา ณ
วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เป็นเวลา 1 พรรษา ลาผนวชแล้ว
ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าหญิงบุญรอด
ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชสมัยของพระองค์ประเทศโปรตุเกสและประเทศอังกฤษได้ส่งผู้แทนทางการทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์คือ
ได้ส่งมา เมื่อ พ.ศ. 2361 และ พ.ศ. 2363 ตามลำดับ ด้านกฎหมายทรงปรับปรุงและออกกฎหมายต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมายห้ามขายฝิ่นสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพินัยกรรมและกฎหมายอาญาอื่น
ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลงโทษทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักรสุนทรภู่กวีเอกของไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในรัชกาลนี้
พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่
4
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (
ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
-พ.ศ. 2317
ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา
ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่
อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์
และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
-พ.ศ. 2322
พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
-พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
-พ.ศ. 2324
พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
-พ.ศ. 2325
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น
"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
-พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า
และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
-พ.ศ. 2330
ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
-พ.ศ. 2331
ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ
วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น
ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
-พ.ศ. 2336
โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
-พ.ศ. 2349 (วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล)
ทรงพระชนมายุได้ 40
พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรม
พระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น