รัชกาลที่9 ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๗๐ ณ มลรัฐแมซซาชูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพระชนมายุได้
๑ พรรษา ได้เสด็จ นิวัตสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ภายหลัง จากที่สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคตแล้วได้เสด็จกลับไปประทับที่เมืองโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และเข้ารับการศึกษา ณ
ที่นั้นเมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบแทนเมื่อพระชนมายุได้
๑๙
พรรษาโดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาต่อในวิชานิติศาสตร์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและได้ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์
พระบรมราชินีนาถซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศ เป็น ม.ร.ว.สิริกิต์
กิติยากรพระธิดาของพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถและได้ประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินีได้มีพระบรมราชาภิเษก
เฉลิมพระปรมาภิไธยว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร์
รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรและทรงเสด็จออกสีหบัญชรพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯ
ถวายพระพรชัยมงคลเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกรถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่
20-21 เมษายน พุทธศักราช 2493
โดยมีหลวงบรรเจิดอักษรการ (ทับ สาตราภัย) เป็นอาลักษณ์จารึกพระปรมาภิไธยในพระสุพรรณบัฏพระยาโหราธิบดี
(แหยม วัชรโชติ) เป็นผู้จารึก ดวงพระราชสมภพหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากรเป็นผู้แกะพระราชลัญจากรประจำรัชกาลและพระครูวามเทพมุนี
(สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล) เป็นผู้เจิมพระราชลัญจกรพิธีถวายสักการะสมเด็จพระบรมราชบุพการีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ
ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเพื่อทรงสรงพระมุธาภิเษกจากนั้นทรงเครื่องบรมขัตติยมหาราชภูษิตาภรณ์
เสด็จฯ ออก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณเพื่อทรงรับน้ำอภิเษก พระสุพรรณบัฎ
เบญจรสชกกุธภัณฑ์เครื่องขัตติยราชูปโภคและพระแสงราชศัตราวุธแล้วทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก
ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม" เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓
ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปี
พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงเสด็จนิวัติพระนคร ได้เสด็จออกผนวช ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารระหว่างที่ทรงผนวชสมเด็จพระนางเจ้า
ฯ พระบรมราชินีทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนา
เป็นสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า
ฯ พระบรมราชินีนาถทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นเอนกประการแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ
ทั้งในยุโรปเอเชีย และอเมริกาเพื่อเจริญพระราชไมตรี อย่างกว้างขวางปรากฎพระเกียรติคุณอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนด้านในประเทศทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทที่อยู่ห่างไกลเพื่อรับทราบปัญหาต่าง
ๆ โดยตรงและได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นพร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถช่วยตนเองได้พระราชกรณียกิจของพระองค์ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศและในฐานะส่วนพระองค์
เป็นไปอย่างไม่หยุดยั้งทรงเต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรมทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง
ๆ ยากที่จะหาผู้เสมอเหมือนทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่นและแตกฉานในพระศาสนาและทรงถ่ายทอดแก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกโอกาส
ดังเราจะได้พบในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสต่าง ๆ อย่างมิรู้สิ้น
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙
เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ
ประกอบด้วยวงจักรมีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักรรอบ
วงจักรมีรัสมีเปล่งออกโดยรอบมีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นอยู่เหนือจักรฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศหมายถึงทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น