วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาพผนวก

ภาพผนวก


รัชกาลที่ 1
   พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรปรมาธิเบศร โลกเชฎวิสุทธิ์ รัตนมงกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 2
        พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศตรีภูวเนตรวรนายกดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทรสุริเยนทราธิบดินทร์หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐฤทธิราเมศวรมหันตอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันตบรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ภูมิทรปรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 3
       พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4
        พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดมจาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศอุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณีจักรีบรมนาถอดิศวราชรามวรังกูรสุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษสุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลกสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดชอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดมบรมนารถชาติอาชาวศรัยพุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5
        พระบามสมเด็จพระปรมิทรมหาจุฬสลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุฒมพงษ์บรพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษฏ์ ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภ ผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรพรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติ อาชาวศรัย พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 6
        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางตประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินค รวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธรบรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานทสนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทรประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทรมเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาตอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฏราธิบดินทร์ ประมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 8
        พระบาทสมเด็จพระปรเมนมหา อานันทมหิดลสกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร(ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทรงได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิ เฉลิมพระนามเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอดุลยเดช วิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดมจักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิการรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมราะบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร

รัชกาลที่ 9

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม
     http://www.baanjomyut.com/library/thai_dress/rattanakosin.html(วันที่ค้นข้อมูล:14 มิถุนายน 2556)
     http://www.dek-d.com/board/view/1255220/ (วันที่ค้นข้อมูล:14 มิถุนายน 2556)
    http://www.jariyatam.com/history1-9-(วันที่ค้นข้อมูล:15มิถุนายน 2556)

    http://www.ninekaow.com/wbs/?action=view&id=0032401(วันที่ค้นข้อมูล:15มิถุนายน 2556)

รัชกาลที่9 ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

รัชกาลที่9    ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน
         เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ มลรัฐแมซซาชูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพระชนมายุได้ ๑ พรรษา ได้เสด็จ นิวัตสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ภายหลัง จากที่สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคตแล้วได้เสด็จกลับไปประทับที่เมืองโลซานน์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเข้ารับการศึกษา ณ ที่นั้นเมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบแทนเมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษาโดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาต่อในวิชานิติศาสตร์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและได้ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศ เป็น ม.ร.ว.สิริกิต์ กิติยากรพระธิดาของพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถและได้ประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินีได้มีพระบรมราชาภิเษก  เฉลิมพระปรมาภิไธยว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร์ รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรและทรงเสด็จออกสีหบัญชรพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓   พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกรถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน พุทธศักราช 2493 โดยมีหลวงบรรเจิดอักษรการ (ทับ สาตราภัย) เป็นอาลักษณ์จารึกพระปรมาภิไธยในพระสุพรรณบัฏพระยาโหราธิบดี (แหยม วัชรโชติ) เป็นผู้จารึก ดวงพระราชสมภพหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากรเป็นผู้แกะพระราชลัญจากรประจำรัชกาลและพระครูวามเทพมุนี (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล) เป็นผู้เจิมพระราชลัญจกรพิธีถวายสักการะสมเด็จพระบรมราชบุพการีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเพื่อทรงสรงพระมุธาภิเษกจากนั้นทรงเครื่องบรมขัตติยมหาราชภูษิตาภรณ์ เสด็จฯ ออก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณเพื่อทรงรับน้ำอภิเษก พระสุพรรณบัฎ เบญจรสชกกุธภัณฑ์เครื่องขัตติยราชูปโภคและพระแสงราชศัตราวุธแล้วทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม"   เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์    เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงเสด็จนิวัติพระนคร ได้เสด็จออกผนวช ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารระหว่างที่ทรงผนวชสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนา เป็นสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นเอนกประการแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ทั้งในยุโรปเอเชีย และอเมริกาเพื่อเจริญพระราชไมตรี อย่างกว้างขวางปรากฎพระเกียรติคุณอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนด้านในประเทศทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทที่อยู่ห่างไกลเพื่อรับทราบปัญหาต่าง ๆ โดยตรงและได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นพร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถช่วยตนเองได้พระราชกรณียกิจของพระองค์ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศและในฐานะส่วนพระองค์ เป็นไปอย่างไม่หยุดยั้งทรงเต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรมทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ยากที่จะหาผู้เสมอเหมือนทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่นและแตกฉานในพระศาสนาและทรงถ่ายทอดแก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกโอกาส ดังเราจะได้พบในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสต่าง ๆ อย่างมิรู้สิ้น
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙

      เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรมีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักรรอบ วงจักรมีรัสมีเปล่งออกโดยรอบมีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นอยู่เหนือจักรฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศหมายถึงทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

รัชการที่8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

รัชการที่8    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๔๗๗- ๒๔๘๙) พระชนมายุ ๒๑ พรรษา
         เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดาไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาจนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖      เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธานต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาเป็นประธานพระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกรโปรดการศึกษาการกีฬาการช่างและการดนตรีได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจ เพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจแม้ในระยะเวลา ที่ประทับอยู่ ในประเทศไทยเป็นระยะสั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงริเริ่มประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบทอย่างจริงจังโดยเริ่มในจังหวัดและอำเภอใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ปากเกร็ด ในการเสด็จ พระราชดำเนิน หัวเมืองนอก กรุงเทพฯ มิได้ทรงมีพระราชประสงค์จะเยี่ยมเยียนพสกนิกรแต่เพียงอย่างเดียวหากทรงตั้งพระราชหฤทัยจะได้ศึกษาถึงลักษณะการบริหารบ้านเมืองของหน่วยราชการทุกฝ่ายทั้งด้านการปกครองและการศาล เพื่อให้เข้าใจสภาพบ้านเมืองได้อย่างถ่องแท้เช่นเกี่ยวกับการใช้อำนาจตุลาการปรากฏว่าได้เสด็จประทับบัลลังก์ เพื่อทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมถึง 2 ครั้ง คือ บัลลังก์ศาลจังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 และบัลลังก์ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีกำหนดจะเสด็จกลับไป มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เพื่อทำปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ ที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จต่อมา เมื่อ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝันพระองค์ต้องอาวุธปืนเสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังยังความเศร้าสลดและความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง ใน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีที่จัดงานการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีนั้นในวันที่ 8 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถพระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศ์มายังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวังในการพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาลักษณ์อ่านประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า  "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคลอเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชยสกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดี พระอัฐมรามาธบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร"  ในการขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขานว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาล มหารัษฎธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร" และอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘

       เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิ สัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

รัชกาลที่7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่7   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7 ครองราชย์ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา
           เสด็จพระราชสมภพ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์  ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุ ได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไป ศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาแล้ว เสด็จกลับ ประเทศไทย เข้ารับราชการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการ ในตำแหน่ง ผู้บังคับการ โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรง กรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา   เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจาก สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไข อย่างเต็มพระกำลังความสามารถ จนประเทศไทย ได้รอดพ้นจาก วิกฤติการณ์นั้นได้ ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถ ติดต่อกับ นานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไป เป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนาม หอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎก เล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึง ชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการ จัดเก็บ ภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย ประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ) วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครอง  
       ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสิน พระทัย สละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขา ที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร"
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗

       เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร

รัชกาลที่6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 6 ครองราชย์ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) พระชนมายุ ๔๖ พรรษา
     เสด็จพระราชสมภพ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ   เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อ พระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษา ได้เสด็จ ไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาใน มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อย แซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการ ทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุง ด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) พระองค์ได้ทรงปลูกฝัง ความรักชาติให้เกิดขึ้น ในหมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็น ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือ ทางด้านประวัติศาสตร์ และด้าน การทหารไว้เป็น จำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับ ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ พระองค์หนึ่งของไทย การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ใน รัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงคราม กับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้ เป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก
ด้านการศึกษา
จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นับเป็นมหาวิทยาลัย แห่งแรกของไทยทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ปีพ.ศ. ๒๔๖๔ ให้บิดามารดาส่งบุตรเข้าโรงเรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน
ด้านเศรษฐกิจ
     จัดตั้งธนาคารออมสินขึ้นเพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเชื่อมั่นในสถาบันการเงินเนื่องจากมีธนาคารพาณิชย์เอกชนที่ฉ้อโกงและต้องล้มละลายปิดกิจการทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสียหายอยู่เสมอใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด(ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหา การเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้ทรงริเริ่มตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด ซึ่งได้เป็นกิจการ อุตสาหกรรมสำคัญของไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาลเพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อผลิตวัคซีน และเซรุ่ม เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วยทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
     ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔โดยมีพระราชประสงค์จะฝึกอบรมข้าราชการให้มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี มีน้ำใจเป็นสุภาพบุรุษประพฤติตนดี รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังของชาติในยามคับขันทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคีมานะอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขัน
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖

    เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์ พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" หมายถึง อาวุธของพระอินทร์

รัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่5   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) พระชนมายุ 58 พรรษา
        เสด็จพระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ.2396 พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมขุนพินิตประชานาถพระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการทรงบริหารประเทศ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศทรงประกาศเลิกทาสปรับปรุงระบบการศาลตั้งกระทรวงยุติธรรมปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไปตั้งกระทรวง ธรรมการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรปสร้างการรถไฟโดยทรงเปิดเส้นทางเดิน รถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้าจัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการไปรษณีย์ โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ ด้านการต่างประเทศทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนักได้ทรงนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่งโดยดำเนินวิเทโศบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจพระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรปถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ  ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก
          เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442 พระองค์ทรงปกครอง อาณาประชาราษฎรให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกรทรงสนพระทัยในวิชาความรู้และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและนำมาใช้บริหารประเทศให้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วพระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่าสมเด็จพระปิยะมหาราช ด้านการพระศาสนาทรงทำนุบำรุงและจัดการให้เหมาะสมเจริญรุ่งเรืองทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุและมหามงกุฎราชวิทยาลัย ขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงนอกจากนั้นยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาสและวัดเบญจมบพิตร   ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ   ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้งกวี และนักประพันธ์ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียวการแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมายแต่ก็ด้วยพระวิริยะ อุตสาหะทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรกกฎผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐ เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์ความรู้คู่เปรียบด้วยกำลังกายเฮย  สุจริตคือเกราะบังศาสตร์พ้องปัญญา ประดุจดัง อาวุธ คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสีและเจ้าจอมมารดาเพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ไม่มีพระราชโอรสธิดาเลยสำหรับพระมเหสี ที่สำคั ญ จะกล่าวถึง มีดังนี้
      ๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม อุบุติเหตุทางเรือที่เสด็จได้ล่มลงทำให้ต้องสิ้นพระชนม์พร้อมกับพระธิดาที่มีพระชนมายุเพียง ๒ พรรษา เท่านั้นส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวีก็มีพรรชันษาย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และก็กำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือนอยู่ดัวยอุบัติเหตุเกิดที่บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓
     ๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์ที่ ๒)  พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ต่อมาได้เลื่อนพระยศเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา
   ๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงเป็นพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้รับพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาส ยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔ ๐ (เสด็จครั้งแรก) พระองค์ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรพระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่วเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาทีของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม งานสุดคณานับยังทั้งประโยชน์ความเจริญรุ่งเรืองนำชาติให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติพระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมาสมเด็จพระปิยมหาราชเป็นพระนามที่ได้รับการถวายโดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐานของพระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียนชมเชย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ได้คิดพระนามนี้ถวายวันที่ ๒๓ ตุลาคม ทุกๆ ปีประชาชนคนไทยทั้งชาติเป็นวันแห่งการรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลายวาระคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคตซึ่งเป็นประเพณีวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่งวันรวมใจเทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕

    เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีบนพานแว่นฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้างริมขอบสองข้างมีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่งกับสมุดตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า