วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่7   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7 ครองราชย์ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา
           เสด็จพระราชสมภพ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์  ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุ ได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไป ศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาแล้ว เสด็จกลับ ประเทศไทย เข้ารับราชการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการ ในตำแหน่ง ผู้บังคับการ โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรง กรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา   เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจาก สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไข อย่างเต็มพระกำลังความสามารถ จนประเทศไทย ได้รอดพ้นจาก วิกฤติการณ์นั้นได้ ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถ ติดต่อกับ นานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไป เป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนาม หอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎก เล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึง ชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการ จัดเก็บ ภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย ประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ) วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครอง  
       ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสิน พระทัย สละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขา ที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร"
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗

       เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น