วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ครองราชย์ 27 พรรษา
พระราชประวัติ
         พระชนมายุ 74 พรรษา มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ทรงพระนามเต็มว่า" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิบดีศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "    องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ตรงกับ วันพุธแรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ได้รับราชการ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีเป็นพระยาราชนรินทร์ในกรมพระตำรวจเจ้าพระยาจักรีและสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกสมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรีทรงปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาเป็นกรุงเทพมหานคร  เริ่มสร้างพระบรมมหาราชวังและสร้างวัดพระศรีรัตน์ศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเสร็จในปี พ.ศ. 2327 ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงคราม มาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดสมัยกรุงธนบุรีและในรัชสมัยของพระองค์เอง พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
           คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
           คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )
           คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
           คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
           คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
       เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
         -พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
        -พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม
        -พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้
       -พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
       -พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายกเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
       -พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
     -พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
            พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มีพระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบางยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มีการมหรสพ
ในด้านการศาสนา ได้โปรด ให้มีการสังคายนา ชำระ
      พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว  พระบรมมหาราชวังสำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย  พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ตลอดรัชสมัยเป็นที่น่าประทับใจพระองค์ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่จนดึกดื่นทุกวันมิได้ขาดเริ่มตั้งแต่ทรงบาตรถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงานจากพระคลังมหาสมบัติออกรับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง   ฟังรายงานและวินิจฉัยคดีจาก จางวางและปลัดกรมตำรวจวินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหารและพลเรือนแล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้าแล้วพบข้าราชการฝ่ายในหลังพระกระยาหารค่ำ  ทรงฟังพระธรรมเทศนาฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลังการก่อสร้างเสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนกรมท่านำใบบอกหัวเมืองมากราบทูลทรงวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ อยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้นแล้วจึงเสด็จขึ้นบรรทมเป็นพระราชกริยาวัตรตลอดมา
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑

        เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ \"อุ\" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น