วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชการที่8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

รัชการที่8    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๔๗๗- ๒๔๘๙) พระชนมายุ ๒๑ พรรษา
         เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดาไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาจนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖      เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธานต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาเป็นประธานพระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกรโปรดการศึกษาการกีฬาการช่างและการดนตรีได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจ เพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจแม้ในระยะเวลา ที่ประทับอยู่ ในประเทศไทยเป็นระยะสั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงริเริ่มประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบทอย่างจริงจังโดยเริ่มในจังหวัดและอำเภอใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ปากเกร็ด ในการเสด็จ พระราชดำเนิน หัวเมืองนอก กรุงเทพฯ มิได้ทรงมีพระราชประสงค์จะเยี่ยมเยียนพสกนิกรแต่เพียงอย่างเดียวหากทรงตั้งพระราชหฤทัยจะได้ศึกษาถึงลักษณะการบริหารบ้านเมืองของหน่วยราชการทุกฝ่ายทั้งด้านการปกครองและการศาล เพื่อให้เข้าใจสภาพบ้านเมืองได้อย่างถ่องแท้เช่นเกี่ยวกับการใช้อำนาจตุลาการปรากฏว่าได้เสด็จประทับบัลลังก์ เพื่อทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมถึง 2 ครั้ง คือ บัลลังก์ศาลจังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 และบัลลังก์ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีกำหนดจะเสด็จกลับไป มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เพื่อทำปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ ที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จต่อมา เมื่อ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝันพระองค์ต้องอาวุธปืนเสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังยังความเศร้าสลดและความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง ใน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีที่จัดงานการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีนั้นในวันที่ 8 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถพระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศ์มายังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวังในการพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาลักษณ์อ่านประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า  "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคลอเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชยสกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดี พระอัฐมรามาธบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร"  ในการขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขานว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาล มหารัษฎธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร" และอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘

       เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิ สัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น