วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่5   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) พระชนมายุ 58 พรรษา
        เสด็จพระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ.2396 พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมขุนพินิตประชานาถพระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการทรงบริหารประเทศ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศทรงประกาศเลิกทาสปรับปรุงระบบการศาลตั้งกระทรวงยุติธรรมปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไปตั้งกระทรวง ธรรมการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรปสร้างการรถไฟโดยทรงเปิดเส้นทางเดิน รถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้าจัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการไปรษณีย์ โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ ด้านการต่างประเทศทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนักได้ทรงนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่งโดยดำเนินวิเทโศบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจพระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรปถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ  ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก
          เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442 พระองค์ทรงปกครอง อาณาประชาราษฎรให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกรทรงสนพระทัยในวิชาความรู้และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและนำมาใช้บริหารประเทศให้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วพระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่าสมเด็จพระปิยะมหาราช ด้านการพระศาสนาทรงทำนุบำรุงและจัดการให้เหมาะสมเจริญรุ่งเรืองทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุและมหามงกุฎราชวิทยาลัย ขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงนอกจากนั้นยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาสและวัดเบญจมบพิตร   ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ   ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้งกวี และนักประพันธ์ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียวการแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมายแต่ก็ด้วยพระวิริยะ อุตสาหะทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรกกฎผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐ เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์ความรู้คู่เปรียบด้วยกำลังกายเฮย  สุจริตคือเกราะบังศาสตร์พ้องปัญญา ประดุจดัง อาวุธ คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสีและเจ้าจอมมารดาเพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ไม่มีพระราชโอรสธิดาเลยสำหรับพระมเหสี ที่สำคั ญ จะกล่าวถึง มีดังนี้
      ๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม อุบุติเหตุทางเรือที่เสด็จได้ล่มลงทำให้ต้องสิ้นพระชนม์พร้อมกับพระธิดาที่มีพระชนมายุเพียง ๒ พรรษา เท่านั้นส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวีก็มีพรรชันษาย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และก็กำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือนอยู่ดัวยอุบัติเหตุเกิดที่บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓
     ๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์ที่ ๒)  พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ต่อมาได้เลื่อนพระยศเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา
   ๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงเป็นพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้รับพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาส ยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔ ๐ (เสด็จครั้งแรก) พระองค์ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรพระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่วเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาทีของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม งานสุดคณานับยังทั้งประโยชน์ความเจริญรุ่งเรืองนำชาติให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติพระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมาสมเด็จพระปิยมหาราชเป็นพระนามที่ได้รับการถวายโดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐานของพระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียนชมเชย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ได้คิดพระนามนี้ถวายวันที่ ๒๓ ตุลาคม ทุกๆ ปีประชาชนคนไทยทั้งชาติเป็นวันแห่งการรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลายวาระคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคตซึ่งเป็นประเพณีวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่งวันรวมใจเทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕

    เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีบนพานแว่นฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้างริมขอบสองข้างมีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่งกับสมุดตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น