วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 4 ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ. 2394-2411) พระชนมายุ 66 พรรษา
          เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา   เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีมีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้ามหามาลาเมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุฬามณีซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษาได้ออกผนวชตามประเพณีและอยู่ในเพศบรรพชิตตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชย์สมบัติ ระหว่างที่ทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุแล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะและได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรกทรงรอบรู้ภาษาบาลีและแตกฉานในพระไตรปิฎกนอกจากนั้นยังศึกษาภาษาลาตินและภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี ในรัชสมัยของพระองค์อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมาขอทำสนธิสัญญาในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนในบังคับของตนและสิทธิการค้าขายเสรีต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์  เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่งคณะทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทยนับต่อจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยไปยังประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทรงจ้างชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำราครูฝึกวิชาทางทหารและตำรวจและงานด้านการช่างทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วงและเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิมมีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรกขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง
      ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ (พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา ทรงผนวชมาได้ ๒๗ พรรษา) พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้เข้ากราบถวายบังคมทูลอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบพระราชสันติวงศ์ รัชกาลที่ ๔ โดยมีพระราชปรมาภิไธยโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์กับอาณาประชาราษฎรให้เข้ากับกาลสมัยในรูปใหม่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่พระองค์ทรงอยู่ในสมณเพศนานถึง ๒๗ พรรษา ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ เป็นโอกาสให้ทรงได้รับรู้สภาพความเป็นอยู่ โดยแท้จริงของราษฎรส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เองนับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์ เพื่อปกครองบ้านเมืองในอนาคตเป็นอย่างดีประกอบกับลัทธิจักรวรรดินิยมที่แผ่ขยายมายังประเทศใกล้เคียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในทวีปเอเชียทำให้พระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศสยามจะต้องยอมรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกและเร่งปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยโดยทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในหลายๆ ด้านไปพร้อมๆกันด้วยพระบรมราโชบายที่มีทรรศนะไกลและด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ คือ
     ๑. ด้านการต่างประเทศ
    ๒. ด้านการเสริมสร้างความมั่นคง และการป้องกันพระราชอาณาจักร
    ๓. ด้านการปฏิรูปการปกครอง
    ๔. ด้านการทำนุบำรุงอาชีพของราษฎร และการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และการคลัง
     ๕. ด้านบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
     ๖. ด้านบำรุงศึกษาศาสตร์
     ๗. ด้านพระราชพิธี ประเพณี ธรรมเนียม
     ๘. ด้านพระศาสนา
     ๙. ด้านการก่อสร้าง
       ด้านการปกครองได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา  ด้านศาสนาได้สร้างวัดราชประดิษฐ์วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำทรงคำนวณ การเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔

       เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎในกรอบรูปกลมรีเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้างมีพานทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือเพชรข้างหนึ่งวางสมุดตำราข้างหนึ่งพระแว่นสุริยกาลหรือเพชรมาจากฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น